ยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลตำบล

ยุทธศาสตร์หลัก

“ พัฒนาปรับปรุงกระบวนการโครงสร้างพื้นฐาน,เศรษฐกิจ,สังคม,

   การเมืองการบริหาร,สาธารณสุข,การศึกษาและทรัพยากรสิ่งแวดล้อม”

                   ยุทธศาสตร์รอง

                            -   การพัฒนาเศรษฐกิจให้ชุมชนเข็มแข็ง

                            -   การแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจน

                            -   การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน

                            -   การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

                            -   การส่งเสริมการศึกษาทุกระดับ

                            -   การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น

                            -   การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นโยบายการบริหารงานเทศบาลตำบล

1. ด้านการเมือง

       1.  เร่งรัดผลัดกันให้การเรียนรู้กับประชาชนทุกระดับ

       2.  ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน องค์กรเอกชนและสื้อมวลชนมีส่วนร่วม

            ในการเสนอแนะ และ แสดง ความคิดเห็นตามระบอบประชาธิปไตย

       3.  ส่งเสริมการสนับสนุนกิจกรรมทางการเมืองทุกระดับ

       4.  สร้างความเข้มข้นให้กับประชาชนโดยการให้การศึกษาอบรมให้ความรู้

            ด้านต่างๆ

2. ด้านการบริหาร

       1.  ปฏิรูปการบริหารงานของเทศบาล

       2.  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

       3.  ส่งเสริมการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน

3. ด้านเศรษฐกิจ

      1.  ปฏิรูปการบริหารงานของเทศบาล

      2.  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

      3.  พัฒนาพื้นที่แหล่งน้ำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว

      4.  ส่งเสริมการผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

      5.  ส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสัตว์น้ำเป้นอาชีพ เสริมให้กับประชาชน

      6.  สร้างเขื่อนบริเวณริมน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม และการพังทะลายของริมตลิ่ง

           และพัฒนาให้ท้องถิ่นได้รับ

      7.  ส่งเสริมให้เทศบาลจัดการเกี่ยวกับเทศพาณิชย์เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่น

4. ด้านการศึกษา

      1.  ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนทุกคนให้ได้รับการศึกษาอย่าง

           ต่อเนื่อง 12 ปี โดยจะให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษแก่ผู้ยากจนและผู้ต้องการ

           โอกาศ

      2.  สนับสนุนการจัดการศึกษาชั้นอนุบาลหรือก่อนประถมศึกษาเพื่อให้เด็กกลุ่ม

           อายุ 3-5 ปีได้เข้าเรียนอย่างทั่งถึง

      3.  สนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบทั้งสายสามัญและสายอาชีพให้ประชาชน

      4.  ส่งเสริมให้ประชาชนและผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมรับผิดชอบการจัดการศึกษา

           อย่างใกล้ชิด  

      5.  จัดให้มีห้องสมุดประชาชน

5. ด้านสังคม

     1.  อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและการทำนุบำรุงศาสนา

     2.  ส่งเสริมบทบาทสตรีคุ้มครองเด็กและเยาวชน การให้สวัสดิการแก่ผู้สูงอายุและ

          สงเคราะห็ผู้ด้อยโอกาศอย่างยุติธรรม

     3.  สนับสนุนการบริการด้านสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพทั้งในการป้องกันและ

          ดูแลตนเองเบื้องต้น

     4.  ส่งเสริมและพัฒนากีฬาเพื่อุขภาพอนามัยของประชาชนในเขตเทศบาล

6. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิงแวดล้อม

     1.  อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในเขตเทศบาลให้คงสภาพเพื่อประโยชน์

          ของท้องถิ่นและประชาชน

     2.  การป้องกันการบุกรุกทำลายแหล่งน้ำธรรมชาติ

     3.  ปรับปรุงการดูแลและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้มีระสิทธิภาพ

     4.  ลดปริมาณฝุ่นละออง และการฟุ้งกระจายไม่ให้เป้นอันตรายต่อสุขภาพ

         อนามัยโดยการปรับปรุงภูมิทัศน์ในเขตเทศบาล

    5.  จัดให้มีการเก็บขยะทางน้ำ

7. ด้านการพัฒนา

    1.  พัฒนา ปรับปรุง ก่อสร้างโครงการต่างๆ ในเขตเทศบาล

8. การขนส่งคมนาคม

    1.  จัดระบบรถโดยสารประจำทางในท้องถิ่นและรถยนต์โดยสาธารณะ

9. การป้องกันภัยสาธารณะ

    1.  จัดให้มีเรือดับเพลิงไว้ป้องกันภัยสาธารณะ และช่วยขจัดสิ่งต่างๆทางน้ำ

วิสัยทัศน์เทศบาลตำบลตรอน

    “ เทศบาลตำบลตรอน ประชาชนทุกคนมีสุขภาพแข็งแรง

       ประชาธิปไตยเข้มแข็ง  ศูนย์แสดงงานประเพณี มีวิถีพอเพียง”

พันธกิจเทศบาลตำบลตรอน

1.   ปฏิบัติงานโดยยึดหลักกฎหมาย,ระเบียบ,ข้อบังคับ หนังสือสั่งการและตอบสนอง

      นโยบายทุกระดับ

2.   พัฒนาตนเองและบุคลากรอยู่เสมอควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านอื่น ๆ พร้อมกันอย่าง

      มีคุณธรรมและก้าวทันเทคโนโลยี

3.   มีจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติงานโดยวัดผลสำเร็จของงานและผลลัพธ์มีความคุ้มค่า

4.   ปฏิบัติงานโดยให้ความสำคัญต่อราษฎร อำนวยความสะดวกและการบริการ

       ประชาชนเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ดีขึ้น

       มีอาชีพสามารถพึ่งพา  ตนเองได้และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเป็นปกติสุข

5.    พัฒนาเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจ,สังคม,การเมือง,สาธารณสุข,การศึกษา,

       ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการท่องเที่ยว

6.   ส่งเสริมเพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตร,อาชีพเกษตรกรรม,ปศุสัตว์ และอาชีพอื่น ๆ

      รวมถึง ผลิตภัณฑ์ของชุมชนและส่งเสริมการส่งออกและการตลาด

7.   พัฒนาส่งเสริมให้เทศบาลตำบลตรอน เป็นสังคมเอื้ออาทร

8.   รับถ่ายโอนงานจากหน่วยงานอื่น ๆตามแผนกระจายอำนาจให้องค์กรปกครอง

      ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

ประวัติเทศบาลตำบลตรอน


              เทศบาลตำบลตรอน เดิมได้รับการจัดตั้งเป็นสุขาภิบาลตรอน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสุขาภิบาลตรอน อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ ประกาศ ณ วันที่  28  ธันวาคม 2499ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 26 มกราคม 2500 เล่มที่ 74 ฉบับพิเศษ หน้า 61 ตอนที่ 10 ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอตรอน มีพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลตรอน โดย พ.ร.บ. เปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542  เมื่อวันที่  25 พฤษภาคม 2542 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 9  ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 ประกอบด้วย 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 4,10,และ 12 ต.วังแดง จำนวนประชากร 1,797 คน ชาย  888  คน หญิง  909  คน 449 หลังคาเรือน(ข้อมูล ณ วันที่  1  เมษายน 2547) ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบ มีแม่น้ำน่านไหลผ่าน
              ตราสัญญลักษณ์ ประจำเทศบาลตำบลตรอนประกอบด้วย 1. ดวงอาทิตย์ หมายถึง ความรุ่งโรจน์ 2.ภูเขา หมายถึง ที่มาของความอุดมสมบูรณ์ 3. ข้าว หมายถึง เมืองเกษตรกรรม 4. ทางรถไฟ หมายถึง มีการคมนาคมโดยรถไฟ 5. แม่น้ำ หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ ธงประจำเทศบาลตำบลตรอน สีฟ้า,ชมพู
ที่ตั้งและอาณาเขต
               เทศบาลตำบลตรอน ตั้งอยู่ที่ตำบลวังแดง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ ประกอบด้วยหมู่ที่ 4,10,  และหมู่ที่12 บางส่วนซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ ห่างจากศาลากลางอุตรดิตถ์ ประมาณ 23 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 485 กิโลเมตร มีพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขต ดังนี้
              ทิศเหนือ ตั้งแต่หลักเขตที่  1  ซึ่งตั้งอยู่ที่ฟากตะวันออกทางรถไฟของโรงงานน้ำตาลไทยตรงที่อยู่ในแนวเส้นตั้งฉากกับทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จากหลัก กม. ที่ 470.200ไปทางทิศตะวันตก
จากหลักเขตที่ 1 เป็นเส้นตั้งฉากกับทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ไปทางทิศตะวันออกถึงฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน ซึ่งเป็นหลักเขตที่2 (ติดบ้านวังแดงหมู่ที่2 และหมู่ที่ 3 ตำบลวังแดง)
              ทิศตะวันออก จากหลักเขตที่ 2 เลียบตามฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่านไปทางทิศใต้เป็นระยะ 450 เมตร ซึ่งเป็นหลักเขตที่ 3    จากหลักเขตที่ 3 เป็นเส้นขนานกับทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ไปทางทิศใต้เป็นระยะ 250 เมตร ซึ่งเป็นหลักเขตที่ 4 (ติดแม่น้ำน่าน และวัดสัจจาราษฎร์บำรุงหมู่ที่ 3 ตำบลวังแดง)
ทิศใต้ จากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นตั้งฉากกับทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ไปทางทิศตะวันตก ถึงฟากตะวันออกทางรถไฟของโรงน้ำตาลไทย ซึ่งเป็นหลักเขตที่ 5 (ติดบ้านใหม่ หมู่ที่ 6ตำบลวังแดง)
              ทิศตะวันตก จากหลักเขตที่ 5 เลียบตามฟากตะวันออกทางรถไฟของโรงน้ำตาลไทยไปทางทิศเหนือจนบรรจบกับหลักเขตที่ 1 (ติดคลองชลประทาน ม.4 ต. วังแดง)
สภาพภูมิประเทศ
              เทศบาลตำบลตรอน บริเวณทั่วไปมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำสายหลัก(แม่น้ำน่าน)ไหลผ่านใจกลางเมืองจากเหนือลงใต้ บริเวณริมฝั่งแม่น้ำน่าน จะมีชุมชนอาศัยอยู่หนาแน่นตลอดทั้งสองฝั่ง ฤดูน้ำหลากน้ำจะกัดเซาะตลิ่งพังสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อาศัยอยู่บริเวณดังกล่าวเป็นอย่างมากดินมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย เหมาะแก่การเพาะปลูก และการปศุสัตว์
สภาพภูมิอากาศ
               จากลักษณะภูมิประเทศเทศบาลตำบลตรอน มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำไม่มีภูเขาตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง อากาศจะร้อนจัดในฤดูร้อนระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม ฤดูหนาวระหว่างเดือน พฤศจิกายน-มกราคม และฤดูฝน ระหว่างเดือน มิถุนายน-ตุลาคม อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27.8 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 32.5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 22องศาเซลเซียส