ประวัติเทศบาลตำบลตรอน


              เทศบาลตำบลตรอน เดิมได้รับการจัดตั้งเป็นสุขาภิบาลตรอน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสุขาภิบาลตรอน อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ ประกาศ ณ วันที่  28  ธันวาคม 2499ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 26 มกราคม 2500 เล่มที่ 74 ฉบับพิเศษ หน้า 61 ตอนที่ 10 ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอตรอน มีพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลตรอน โดย พ.ร.บ. เปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542  เมื่อวันที่  25 พฤษภาคม 2542 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 9  ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 ประกอบด้วย 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 4,10,และ 12 ต.วังแดง จำนวนประชากร 1,797 คน ชาย  888  คน หญิง  909  คน 449 หลังคาเรือน(ข้อมูล ณ วันที่  1  เมษายน 2547) ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบ มีแม่น้ำน่านไหลผ่าน
              ตราสัญญลักษณ์ ประจำเทศบาลตำบลตรอนประกอบด้วย 1. ดวงอาทิตย์ หมายถึง ความรุ่งโรจน์ 2.ภูเขา หมายถึง ที่มาของความอุดมสมบูรณ์ 3. ข้าว หมายถึง เมืองเกษตรกรรม 4. ทางรถไฟ หมายถึง มีการคมนาคมโดยรถไฟ 5. แม่น้ำ หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ ธงประจำเทศบาลตำบลตรอน สีฟ้า,ชมพู
ที่ตั้งและอาณาเขต
               เทศบาลตำบลตรอน ตั้งอยู่ที่ตำบลวังแดง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ ประกอบด้วยหมู่ที่ 4,10,  และหมู่ที่12 บางส่วนซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ ห่างจากศาลากลางอุตรดิตถ์ ประมาณ 23 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 485 กิโลเมตร มีพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขต ดังนี้
              ทิศเหนือ ตั้งแต่หลักเขตที่  1  ซึ่งตั้งอยู่ที่ฟากตะวันออกทางรถไฟของโรงงานน้ำตาลไทยตรงที่อยู่ในแนวเส้นตั้งฉากกับทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จากหลัก กม. ที่ 470.200ไปทางทิศตะวันตก
จากหลักเขตที่ 1 เป็นเส้นตั้งฉากกับทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ไปทางทิศตะวันออกถึงฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน ซึ่งเป็นหลักเขตที่2 (ติดบ้านวังแดงหมู่ที่2 และหมู่ที่ 3 ตำบลวังแดง)
              ทิศตะวันออก จากหลักเขตที่ 2 เลียบตามฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่านไปทางทิศใต้เป็นระยะ 450 เมตร ซึ่งเป็นหลักเขตที่ 3    จากหลักเขตที่ 3 เป็นเส้นขนานกับทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ไปทางทิศใต้เป็นระยะ 250 เมตร ซึ่งเป็นหลักเขตที่ 4 (ติดแม่น้ำน่าน และวัดสัจจาราษฎร์บำรุงหมู่ที่ 3 ตำบลวังแดง)
ทิศใต้ จากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นตั้งฉากกับทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ไปทางทิศตะวันตก ถึงฟากตะวันออกทางรถไฟของโรงน้ำตาลไทย ซึ่งเป็นหลักเขตที่ 5 (ติดบ้านใหม่ หมู่ที่ 6ตำบลวังแดง)
              ทิศตะวันตก จากหลักเขตที่ 5 เลียบตามฟากตะวันออกทางรถไฟของโรงน้ำตาลไทยไปทางทิศเหนือจนบรรจบกับหลักเขตที่ 1 (ติดคลองชลประทาน ม.4 ต. วังแดง)
สภาพภูมิประเทศ
              เทศบาลตำบลตรอน บริเวณทั่วไปมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำสายหลัก(แม่น้ำน่าน)ไหลผ่านใจกลางเมืองจากเหนือลงใต้ บริเวณริมฝั่งแม่น้ำน่าน จะมีชุมชนอาศัยอยู่หนาแน่นตลอดทั้งสองฝั่ง ฤดูน้ำหลากน้ำจะกัดเซาะตลิ่งพังสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อาศัยอยู่บริเวณดังกล่าวเป็นอย่างมากดินมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย เหมาะแก่การเพาะปลูก และการปศุสัตว์
สภาพภูมิอากาศ
               จากลักษณะภูมิประเทศเทศบาลตำบลตรอน มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำไม่มีภูเขาตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง อากาศจะร้อนจัดในฤดูร้อนระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม ฤดูหนาวระหว่างเดือน พฤศจิกายน-มกราคม และฤดูฝน ระหว่างเดือน มิถุนายน-ตุลาคม อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27.8 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 32.5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 22องศาเซลเซียส

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น